วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปลูกป่าชายเลน

การปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด บางชนิดขยายพันธุ์โดยส่วนที่เรียกว่าฝักและบางชนิดขยายพันธ์โดยส่วนที่เป็นผลและเมล็ด โดยธรรมชาติ ฝัก ผล หรือเมล็ด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทุกชนิด สามารถที่จะงอก และเจริญเติบโตได้เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม แต่เมื่อต้องการที่จะปลูกในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อทางเศรษฐกิจหรือรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ตาม จำเป็นต้องทำการเก็บรวบรวมฝัก ผล และเมล็ด เพื่อนำมาใช้ปลูกโดยตรง หรือมาเพาะในเรือเพาะชำเป็นกล้าไว้ก่อน เพื่อเตรียมไว้ปลูกในช่วงเวลาที่มีฝักหรือเมล็ดไม่เพียงพอ ซึ่งการปลูกเพื่อให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ในเรื่องธรรมชาติของไม้แต่ละชนิดและสภาพสิ่งแสดล้อมแล้ว ยังจำเป็นต้องเข้าใจวิธีการและเทคนิคในการปลูกและดูแลรักษาด้วย สำหรับวิธีการและเทคนิคนั้น จะแตกต่างไปตามลักษณะของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด 

วิธีการและเทคนิคการปลูก
1. การปลูกโดยใช้ฝัก พันธุ์ไม้ที่ใช้ฝักในการขยายพันธุ์ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora- mucronata) โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) รังกะแท้ (Kandelia candel) พังกา หัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorrhiza) พังกาหัวสุมดอกขาว (B. sexangula) ถั่วขาว (B. cylindrica) ถั่วดำ (B. parviflora) โปรงแดง (Ceriopstagal) และโปรงขาว (C. decandra) เป็นต้น เทคนิคการปลูกโดยใช้ฝักปลูกดำเนินการได้ในสองกรณี คือ
1.1 การปลูกโดยใช้ฝักปลูกโดยตรง
1.1.1 สำหรับพันธุ์ไม้ที่มีขนาดของฝักยาว เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก รังกะแท้ และโปรงแดง สามารถใช้ฝักปลูกลงในพื้นที่ได้ทันที โดยในการปลูกควรจับฝักห่างจากโคนฝักประมาณหนึ่งในสามของความยาวของฝัก และให้ส่วนโคนของฝักอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ คือมีลักษณะเหมือนกำฝักไว้ในอุ้งมือ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปักฝักลงไปได้สะดวกและและอยู่ในแนวดิ่ง โดยเมื่อปลูกให้ปักฝักลงในดินจนนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดผิวดิน ถ้าหากพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินปนทรายและแน่นทึบ ควรใช้ไม้แหลมขนาดเท่าหรือโตกว่าฝักของชนิดไม้ที่จะปลูกเล็กน้อยแทงนำร่องก่อน เพื่อลดความกระทบกระเทือนของการเสียดสีระหว่างดินกับผิวของฝักที่ปลูก และเมื่อหย่อนฝักลงไปในหลุมที่เตรียมไว้แล้วให้กดดินบริเวณรอบโคนฝักให้แน่นแนบสนิทกับฝัก เพื่อไม่ให้โยกคลอนโดยเฉพาะจากอิทธิพลของแรงกระแสคลื่นและลม
1.1.2 สำหรับพันธุ์ไม้ที่มีฝักขนาดเล็กหรือสั้น เช่น พังกาหัวสุมดอกแดง พังกา หัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ถั่วขาว และโปรงขาว การปลูกควรจับฝักห่างจากโคนฝักประมาณหนึ่งในสามลักษณะเหมือนจับปากกา ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปลูก แล้วปักลงในดินไม่ให้ลึกนัก ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของฝักทั้งหมด การปลูกโดยใช้ฝักโดยตรงในพื้นที่จะช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและสะดวกในการปลูก แต่การที่ปลูกแล้วจะได้ผลดีจำเป็นจะต้องเลือกฝักที่มีอายุแก่เต็มที่และมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ถูกทำลายโดยแมลง โดยเฉพาะมอดเจาะเมล็ดไม้จะเจาะฝักหรือเมล็ดมีขนาดเท่ารูเข็มหมุด เนื่องจากมีการเก็บฝักที่หล่นจากต้นมาเป็นเวลานาน หรือเก็บรักษาฝักไว้นานจนผิวแห้ง การป้องกันจึงควรเก็บรักษาฝักให้เปียกชื้นอยู่เสมอ จะช่วยในการป้องกันการทำลายของมอดเจาะชนิดนี้ได้ แต่ละฝักที่จะนำไปปลูกจะต้องคัดเลือกและตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ฝักที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงจะทำให้การปลูกด้วยฝักได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
วิธีการปลูกโดยใช้ฝักปักในพื้นที่ปลูกโดยตรง (a) กรณีฝักมีขนาดยาว (b)กรณีฝักมีขนาดสั้น
1.2 เทคนิคในการเพาะชำฝักลงในถุงเพาะชำ สามารถดำเนินการได้ดังนี้ จัดสร้างเรือนเพาะชำให้มีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณกล้าไม้ที่ต้องการใช้ในการ ปลูก และเผื่อไว้ปลูกซ่อมอีก 20% โดยใช้ตาข่ายพรางแสงประมาณ 50 – 70 % ขึงกับเสาไม้หรือเสาคอนกรีตที่ปักลงในดินจนแน่น แล้วนำถุงพลาสติกที่ใส่วัสดุเพาะชำ (อาจใช้ดินเลนผสมแกลบเผา อัตราส่วน 1:1) วางไว้เป็นบล็อกที่มีทางเดินทั้งสองข้างของบล็อก แล้วใช้ฝักปลูกลงในถุงเพาะชำ โดยปักลงไปประมาณหนึ่งในสาม หรือหนึ่งในสี่ของความยาวฝักได้ ตามแต่ขนาดของฝัก การจับฝักควรจับแบบจับปากกา จะสามารถช่วยให้ปลูกได้สะดวกกว่า กรณีทีเป็นฝักยาวก็จะต้องปรับให้แทงทะลุถุง และจะต้องให้ฝักตั้งตรงด้วย การนำฝักมาเพาะไว้ในเรือนเพาะชำก่อนจะนำไปปลูกในพื้นที่โดยตรงนั้น จะช่วยให้การเจริญเติบโตและการรอดตายมากขึ้น ข้อควรระวังในการใช้กล้าปลูกคือ อย่างให้รากทะลุก้นถุงลงในดิน เมื่อย้ายไปปลูกระบบรากจะกระทบกระเทือนอาจทำให้ตายได้ โดยเฉพาะไม้โกงกาง


2. การปลูกโดยใช้เมล็ด สามารถดำเนินการได้กับพันธุ์ไม้ที่ขยายพันธุ์โดยเมล็ด หรือ ผล เช่น ตะบูนขาว (Xylocarpus granatum) ตะบูนดำ (X.moluccensis) แสมขาว (Avicennia alba) แสมทะเล (A. marina) ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemosa) ฝาดดอกแดง (L.littorea) หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis) และหลุมพอทะเล (Intsia bijuga) เป็นต้น แต่เนื่องจากเมล็ดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จะถูกพัดพาไปตามกระน้ำได้ง่าย ในทางปฏิบัติจึงไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงในพื้นที่ และที่ได้ผลดีที่สุดคือ ต้องนำเมล็ดไม้เหล่านี้มาทำการเพาะชำ เพื่อเตรียมกล้าไม้ไว้ให้แข็งแรงและเพียงพอก่อนนำไปปลูกโดยตรงในพื้นที่จึงจะทำให้การปลูกได้ผลดี โดยเทคนิคในการเพาะชำจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของเมล็ดแต่ละชนิด เช่น เมล็ดลำพู ลำแพนที่มีขนาดเล็ก ควรเพาะในกะบะเพาะก่อน แล้วย้ายต้นอ่อนลงในถุงเพาะชำ เมล็ดตะบูนขาวที่มีขนาดใหญ่สามารถเพาะลงในถุงเพาะชำโดยตรงได้ เป็นต้น

3. การปลูกโดยใช้กล้าไม้ที่ได้จากการเตรียมกล้าในแปลงเพาะ มีเทคนิคในการปลูกดังนี้
3.1 การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่จะปลูกต้องจัดเตรียมไว้โดยใช้เสียมขุด ให้มีขนาดโตและลึกกว่าขนาดของถุง เพาะเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ฝังลงในดินได้มิดพอดี หรืออาจจะใช้ไม้หลักปักลึกลงในดินตรงจุดที่จะปลูก แล้วโยกไม้วนไปรอบๆ เป็นวงกลม เพื่อให้ได้หลุมกว้างพอที่จะหย่อนกล้าไม้ลงไปได้อย่างสะดวกและไม่กระทบกระเทือนต่อรากไม้ด้วย โดยก่อนที่จะหย่อนกล้าลงในหลุม ควรทำการปรับก้นหลุมให้อยู่ในระดับพอเหมาะกับขนาดถุงเพาะชำ
3.2 การปลูกและระยะการปลูก
ใช้มือทั้งสองบีบอัดดินในถุงเพาะชำให้เกาะยึดกันแล้วใช้มือฉีกหรือใช้มีดกรีดถุงออก ก่อนปลูก หรืออาจใช้มีดกรีดเฉพาะก้นถุงให้ขาดออกจากกันโดยรอบก็ได้ แล้วใช้มือประคองดินในถุงเพาะ แล้วหย่อนกล้าลงไปในถุงที่เตรียมไว้แล้วโดยจัดวางกล้าไม้ให้ตั้งตรง แล้วสุดท้ายใช้ดินกลบปิดปากหลุมและกดอัดดินรอบๆ หลุมให้แน่น เพื่อไม่ให้กล้าไม้ที่ปลูกโยกคลอนจากแรงคลื่นและแรงลม สำหรับระยะการปลูกของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ส่วนใหญ่จะใช้ระยะการปลูกประมาณ 1x1 เมตร หรือ 1.5 x 1.5 เมตร หรือน้อยกว่าซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ไม้ชนิดต่างๆ กัน และวัตถุประสงค์อย่างอื่นของการปลูกด้วย เช่นการปลูกเพื่อการเป็นกำแพงกันคลื่นลมตามชายฝั่งทะเล การปลูกเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำอาจปลูกระยะถี่ 0.75 x 0.75 เมตรก็ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก http://flaw2-49-6.blogspot.com/2007/01/blog-post.html

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
            1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
            2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
            3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
            4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
            5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
            6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น


2.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
            1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
            2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
            3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
            4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น
            5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การใช้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นแก่มนุษย์ เนื่องจากสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวมนุษย์ในด้านต่างๆ มากมาย การที่มนุษย์นำทรัพยากรไปใช้นั้นหากมีการใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่รู้คุณค่า ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
โดยทั่วไป ทรัพยากรธรรมชาติจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

ทรัพยากรดิน
ดินเกิดจากการสลายและผุพังของหินชนิดต่างๆ แล้วคลุกเคล้าปะปนกับอินทรียสารชนิดต่างๆ รวมทั้งน้ำและอากาศ ลักษณะของดินที่แตกต่างกันนั้นเนื่องจากองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป
ลักษณะของดินในประเทศไทย มีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ที่พบดินนั้นๆ คือ
๐ บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงสองฝั่งแม่น้ำ เป็นบริเวณที่มีโคลนตะกอนถูกพัดมาทับถมกันเป็นจำนวนมาก โดยมากมักเป็นดินตะกอนที่มีอายุน้อย ลักษณะของดินเป็นดินเหนียว เนื้อละเอียด เมื่อแห้งจะจับตัวกันแน่น เช่น บริเวณพื้นดินสองฝั่งแม่น้ำในจังหวัดอยุธยา ปทุมธานี เป็นต้น
๐ บริเวณที่ราบลุ่มต่ำมาก เป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำมีซากพืชซากสัตว์ทับถมกันเป็นชั้นหนาจนเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุปะปนอยู่มากพบได้ในบริเวณชายฝั่งจังหวัดนราธิวาสบริเวณบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์
๐ บริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล เป็นบริเวณที่มักจะมีเนินทรายหรือหาดทรายอยู่มาก ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างน้อย พบในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทั่วไป เช่น ชายฝั่งทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๐ บริเวณที่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป เป็นดินที่ถูกชะล้างเนื่องจากการไหลของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ส่วนมากมักเป็นดินเหนียว เมื่อเวลาผ่านไปดินบริเวณนี้จะค่อยๆ ลดความอุดมสมบูรณ์ลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นดินที่ไม่มีคุณภาพ
๐ บริเวณภูเขาที่ไม่สูงชัน ส่วนมากเป็นดินที่ถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ตามธรรมชาติ มีอินทรียสารสะสมอยู่ แต่หากป่าไม้ถูกทำลายจะทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินโดยน้ำและลมอย่างรุนแรง ทำให้ดินเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว
๐ บริเวณดินที่มีสารประเภทเบสปะปนอยู่มาก เช่น หินปูน ดินมาร์ล เป็นต้น เมื่อสารเหล่านี้สลายตัวลงจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินที่เหมาะในการเพาะปลูกพืชประเภทพืชไร่
การใช้ดินให้เกิดประโยชน์ การใช้ดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและและนานที่สุดสามารถทำได้ดังนี้
๐ การปลูกพืชหมุนเวียน
๐ การปลูกพืชแบบขั้นบันได
๐ การปลูกป่าในพื้นที่ลาดชัน และไม่ใช้พื้นที่ดังกล่าวในการเกษตรกรรม

ปัญหาทรัพยากรดิน ในประเทศไทยมี 2 แบบ คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์


ทรัพยากรน้ำ
โลกที่เราอาศัยอยู่ประกอบไปด้วยพื้นน้ำถึง 3 ส่วน เป็นทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนได้ ไม่มีวันหมดไปจากโลก แต่ถูกทำให้เสื่อมสภาพหรือมีคุณภาพต่ำลงได้
แหล่งน้ำแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
๐ น้ำบนดิน ได้แก่ น้ำในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ น้ำจากแหล่งนี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
- ปริมาณของน้ำฝนที่ได้รับ
- อัตราการสูญเสียของน้ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการระเหยและการคายน้ำ
- ความสามารถในการกักเก็บน้ำ
๐ น้ำใต้ดิน เป็นน้ำที่แทรกอยู่ใต้ดิน ได้แก่ น้ำบาดาล การที่ระดับน้ำใต้ดินจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
- ปริมาณน้ำที่ไหลจากผิวดิน
- ความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ในชั้นหิน
ความสำคัญของน้ำ น้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมากมายดังนี้
๐ ด้านเกษตรกรรม เพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
๐ ด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำ
๐ ด้านการอุตสาหกรรม
๐ ด้านการอุปโภคและการบริโภค
การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
๐ การพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการขุดลอกแหล่งน้ำต่างๆ ที่ตื้นเขิน
๐ ใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ปล่อยให้น้ำที่ใช้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
๐ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า
๐ ป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษกับแหล่งน้ำ
ทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้เป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างยิ่ง เป็นต้นน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากมาย ช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารต่างๆ ในธรรมชาติ ฯลฯ
ป่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อโลก
แนวทางในการอนุรักษ์ป่าไม้
- การทำความเข้าใจถึงความสำคัญของป่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในโลก
- การสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการดูแลรักษาป่าไม้ในชุมชน ซึ่งแนวทางหนึ่งคือการเปิดโอกาสโดยภาครัฐในการออกพระราชบัญญัติป่าชุมชน
- การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่ป่า และการออกกฎเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า
- ช่วยกันปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยอาจจะเป็นการร่วมมือกับสมาชิกในชุมชนเพื่อปลูกป่าในโอกาสต่างๆ
- ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ เพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการร่วมอนุรักษ์ป่าไม้รวมถึงสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นด้วย
ทรัพยากรแร่
ทรัพยากรแร่ หมายถึง แร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก ทั้งบริเวณส่วนที่เป็นพื้นดินและส่วนที่พื้นน้ำ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ
แหล่งกำเนิดแร่ แร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในบริเวณเปลือกโลกเกิดมาจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้แร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ใต้ผิวโลกถูกผลักดันขึ้นมา
- การแปรสภาพทางเคมีของหินประเภทต่างๆ ที่อยู่บนเปลือกโลกจนได้แร่ชนิดใหม่เป็นองค์ประกอบ
ประเทศไทยมีแร่ธาตุต่างๆ อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ โดยสามารถพบแร่ธาตุชนิดต่างๆ กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ เช่น
- แร่ลิกไนต์ พบมากที่ อ.ปูดำ จ.กระบี่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
- หินน้ำมัน พบมากที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
- แร่เกลือหินโพแทซ พบกระจัดกระจายทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
- แร่รัตนชาติ พบมากแถบภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย
- แร่ดีบุก พบมากที่ จ.พังงา และหลายจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย
วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ทรัพยากรแร่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ดังนั้นทุกคนจึงต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรแร่อย่างเต็มความสามารถ
วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่มีหลากหลายวิธีดังแนวทางต่อไปนี้
- ใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อย่างรู้คุณค่า โดยใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้
- ใช้แร่ธาตุให้ตรงกับความต้องการและตรงกับสมบัติของแร่ธาตุนั้นๆ
- แยกขยะที่จะทิ้งออกเป็นส่วนๆ ตามประเภทของขยะ คือ ขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น เศษอาหาร เป็นต้น ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น ขวดแก้ว กระป๋องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น และขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉายแบบต่างๆ แบตเตอรี่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การนำขยะไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ทำได้ง่ายขึ้น และลดการขุดใช้แร่ธาตุต่างๆ ลง
แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบัน ทุกคนคงทราบดีถึงสภาพความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น และหากทุกคนยังคงนิ่งเฉย ไม่ตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อีกไม่นานปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็จะไม่สามารถแก้ไขกลับมาให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตได้ และเราทุกคนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับผลกระทบที่ไม่สามารถคาดเดาได้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ในฐานะที่เราทุกคนเป็นมนุษย์ เราจึงควรตระหนักและหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ด้วยความเข้าใจอย่างจริงจัง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังของเราทุกคน ขอเพียงแค่เราตั้งใจทำและทำการอนุรักษ์จนเป็นนิสัย เพียงเท่านี้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่งดงามก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน
แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำได้ดังแนวทางดังนี้
- การเริ่มต้นอนุรักษ์ควรเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัวและทำได้ง่ายก่อน เช่น เริ่มจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน บริเวณหมู่บ้าน หรือในอำเภอของตนเอง
- ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราให้เข้าใจ เพราะลักษณะของสิ่งแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน
- ปฏิบัติการอนุรักษ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป และพยายามหาเพื่อนที่มีแนวคิดเดียวกันมาร่วมกันทำงาน เพื่อเพิ่มกำลังคนและแนวคิดในการอนุรักษ์
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความสามารถของทุกคนหากตั้งใจที่จะทำ เพราะเพียงแค่การนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ก็เป็นการช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว หรือการแยกขยะก่อนทิ้งก็จะเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงไปได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางประการของการปฏิบัติการเพื่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากทุกคนช่วยกันคิดช่วยกันทำ เราทุกคนก็จะมีชีวิตที่ดีในสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีทรัพยากรต่างๆ ให้เราใช้สอยกันอย่างเพียงพอ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองไทย

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
         ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมาก   และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้แทน โดยก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากขึ้น

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีดังนี้
1.  ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เป็นต้น
2.  ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่
3.  ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร
4.  ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง     ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ
5. ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
6. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
7. ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
8. ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคเหนือ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า
    สาเหตุ เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินเกิดการพังทลายและไม่มีความอุดมสมบูรณ์และทำให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน
    แนวทางแก้ไข
1. ป้องกัน ควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า
2. ขยายเขตพื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
3. ให้การศึกษาแก่ประชาชนในความสำคัญของป่าไม้ ตลอดจนวิธีการอนุรักษ์ป่าไม้
4. ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อทดแทนป่าที่ถูกทำลายไป
5. เร่งทำแผนอพยพชุมชนและคนออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์
6. ปฏิเสธการรับรอง "สิทธิชุมชน" ในการตั้งถิ่นฐานในผืนป่า
ปัญหาการพังทลายของดิน
    สาเหตุเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าของภาคเหนือมีสูงถึงร้อยละ 60 ของภาค และยังเป็นพื้นที่ราบสูงทำให้ปัญหาการพังทลายของดินมีมาก
    แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. แบ่งพื้นที่การใช้ดินให้เหมาะสม
3. มีมาตรการควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า
4. ส่งเสริมการปลูกพืชแบบขั้นบันได การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชสลับแถว
ปัญหาการขยายตัวของสังคมเมือง
     สาเหตุเกิดจากการขายตัวของชุมชนมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เป็นต้น
     แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมและฝึกอาชีพต่าง ๆ แก่ประชาชน
2. ให้การศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เช่น โครงการพัฒนาชาวไทยภูเขา
3. ปราบปรามและลงโทษผู้ค้ายาเสพย์ติดอย่างเด็ดขาด
4. พัฒนาคนให้มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน
     เนื่องจากภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบสูงสลับกับภูเขา ทำให้ขาดที่ดินในการประกอบอาชีพเกษตร
     แนวทางแก้ไข
1. ปรับปรุงคุณภาพของดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
2. ให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรในการใช้ประโยชน์จากที่ดินของตน

2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคกลาง

ปัญหาการใช้ที่ดิน
    1. ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
    2. มีการเพาะปลูกไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
    3. มีการปลูกพืชที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน
    4. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
แนวทางแก้ไข
1. หลีกเลี่ยงการขยายเมืองในพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตร
2. ปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดิน
3. ให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
4. จัดให้มีการปฏิรูปที่ดิน ในการปรับปรุงและสิทธิในการถือครองที่ดิน
ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
      ภาคกลางอยู่ในเขตเงาฝน ปริมาณน้ำฝนที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหา การขาดแคลนน้ำ
แนวทางแก้ไข
1. พัฒนาการชลประทานให้กระจายไปทั่วทุกพื้นที่
2. พัฒนาแหล่งน้ำที่ตื้นเขินให้สามารถเก็บกักน้ำได้
3. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลองที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน
ปัญหาการหนุนของน้ำทะเล
     เนื่องจากภาคกลางเป็นพื้นที่ราบลุ่ม จึงเกิดปัญหาน้ำทะเลหนุนขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผล และการเกษตร
แนวทางแก้ไข
1. กรมชลประทานได้ช่วยขุดคลองส่งน้ำเลี้ยงต้นไม้ในฤดูแล้ง เพื่อช่วยให้ความเข้มข้นของน้ำทะเลลดลง
2. สร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลในระยะที่น้ำทะเลหนุน ปัญหาการทำลายป่าห้วยขาแข้ง
3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาเกี่ยวกับการพังทลายของดิน
     1. ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเอียง ก่อให้เกิดการพังทลายของดินได้ง่าย
     2. ความรุนแรงของลักษณะภูมิอากาศ เช่น แห้งแล้งมาก ร้อนมาก หรือมีน้ำหลากในช่วงเกิดพายุดีเปรสชัน ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน
     3. ลักษณะเนื้อดินเป็นหินทรายน้ำซึมผ่านได้ง่าย จึงเกิดการพังทลายได้
     4. ขาดพืชปกคลุ่มดินเนื่องจากไม่มีป่าไม้เหลืออยู่
แนวทางแก้ไข
1. ควบคุมและป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า
2. ห้ามการเพาะปลูกพืชที่ผิดวิธี
3. ควรปลูกพืชแบบวิธีขั้นบันไดในบริเวณที่มีพื้นที่ลาดเอียง
4. ควรปลูกพืชคลุมดินบริเวณที่มีการพังทลายของดิน
5. ควรสร้างเขื่อนขนาดเล็กเพื่อคั่นร่องน้ำให้เก็บกักน้ำไว้

ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย และมีพื้นที่ลาดเอียง ทำให้น้ำซึมอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่แม่น้ำลำธารอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการพังทลายของดินทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
แนวทางแก้ไข
1. ควบคุมและป้องกันการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ
2. สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ หรือฝาย
3. ปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากที่สุด
4. ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
5. ควบคุม และป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในต้นน้ำลำธาร
6. สร้างถังน้ำคอนกรีตสำหรับหมู่บ้านเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้
7. ให้ความรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า
       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีพื้นที่ป่าไม้น้อยมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การกระจายตัวของประชากร และการเพาะปลูกที่ผิดหลัก จนเป็นเหตุให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาถิ่นทำกิน
แนวทางแก้ไข
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของป่าไม้
2. ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนและปรับปรุงต้นน้ำลำธาร
3. ร่วมมือกับกรมป่าไม้ในการอนุรักษ์และรักษาป่าไม้
4. ช่วยกันรักษาป่าธรรมชาติบริเวณต้นน้ำลำธาร

ปัญหาการเติบโตของชุมชนเมือง
       ชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาขยะมูลฝอย ตามมามากขึ้น
แนวทางแก้ไข
ควรวางแผนและมีมาตรการในการจัดระเบียบ การวางผังเมือง และเขตอุตสาหกรรมให้ถูกต้องและสามารถควบคุมได้


4. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคตะวันออก

ปัญหาการพังทลายของดิน
      สาเหตุเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกพืชที่ก่อให้เกิดดินเสื่อมคุณภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่น มัน สำปะหลัง อ้อย เป็นต้น
แนวทางแก้ไข
1. ให้ความรู้ในการรักษาป่าและการสงวนป่าที่เป็นต้นน้ำ
2. ปลูกป่าทดแทนในบริเวณที่เคยเป็นป่าไม้
3. เลิกการเพาะปลูกแบบทำไร่เลื่อนลอย
4. ส่งเสริมการปลูกพืชที่ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
5. ควรป้องกันและรักษาป่าธรรมชาติ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้และป่าชายเลน
       จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเล 5 จังหวัด เพื่อใช้ปลูกพืชไร่
แนวทางแก้ไข
ควรกำหนดพื้นที่ในการเพาะปลูกให้แน่นอน และกำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และป้องกันการบุกลุกทำลายป่า

ปัญหามลพิษบริเวณชายฝั่งทะเล

       ภาคตะวันออกเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ทำให้มีการปล่อยน้ำเสียและกากสารพิษลงสู่ทะเล
แนวทางแก้ไข
ควรควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีการจัดระบบการบำบัดน้ำเสียและกากสารพิษให้เคร่งครัด

ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด
       สำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลในช่วงฤดูแล้ง
แนวทางแก้ไข
ควรมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทุกฤดู และไม่ควรตัดไม้ทำลายป่า

ปัญหาการรับเอาวัฒนธรรมกระแสใหม่

      ภาคตะวันออกกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ก่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป เช่น การแต่งกาย การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย
แนวทางการแก้ไข
ให้ความรู้และปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ตลอดจนการอนุรักษ์วัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติต่อไป

ปัญหาชายแดนและความมั่นคงของชาติ
       ภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนของประเทศกัมพูชา จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับการอพยพของผู้ลี้ภัย ปัญหา การล่วงล้ำอธิปไตย ปัญหาการลักลอบขนสินค้าและอาวุธ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติเป็นอย่างยิ่ง
แนวทางแก้ไข
1. หามาตรการในการป้องกันชายแดนให้เข้มงวดขึ้น
2. ผลักดันให้ผู้ลี้ภัยออกจากประเทศ โดยร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ

5. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ปัญหาในภาคตะวันตก

ปัญหาการพังทลายของดิน
        ภาคตะวันตกเป็นเขตภูเขา มักจะมีปัญหาการพังทลายของดินอย่างรุนแรง เนื่องจากการถางป่า โค่นป่า เพื่อเพาะปลูกแบบไร่เลื่อนลอย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้ง่าย
แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร
2. ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการชลประทาน

ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
        ภาคตะวันตกอยู่ในพื้นที่เขตเงาฝน หรืออับฝน จึงก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งในด้านอุปโภคและบริโภค และการเกษตรของประชากรในภาคนี้
แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมการปลูกป่า และอนุรักษ์ป่าไม้ ตลอดจนมีการลงโทษผู้กระทำผิดในการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า
2. ควรพัฒนาแหล่งน้ำโดยการสร้างเขื่อน ฝายและอ่างเก็บน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้
       พื้นที่ที่เกิดปัญหามากที่สุดคือบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร และเขื่อนน้ำโจน ที่มักจะพบปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า มากที่สุด
แนวทางการแก้ไข
ให้ความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนในท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

ปัญหาน้ำทะเลทะลักเข้าพื้นที่

       แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี ในช่วงฤดูฝนจะมีปัญหาน้ำทะเลหนุนเข้าพื้นที่การเพาะปลูกการเกษตร พืช สวนมากทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก
แนวทางการแก้ไข
สร้างทำนบกั้นไม่ให้น้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่

ปัญหาน้ำเน่าเสียของแม่น้ำแม่กลอง
แนวทางแก้ไข

ควรควบคุมและป้องกันไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ และช่วยกันฟื้นฟูลำน้ำระหว่างชุมชนกับวัด

ปัญหาสารพิษตกค้างจังหวัดกาญจนบุรี
แนวทางการแก้ไข
ควรจัดให้มีมาตรการควบคุมการกำจัดสารพิษอย่างถูกต้องและเคร่งครัดในจังหวัดกาญจนบุรี

6. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคใต้

ปัญหาการสูญเสียป่าชายเลน
      เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเกษตรกรนากุ้งและการประมงชายฝั่ง
แนวทางแก้ไข
ควรร่วมมือกันฟื้นฟูสภาพชายฝั่งทะเล

ปัญหาความขัดแย้งของเกษตรกรนากุ้งและนาข้าว

แนวทางการแก้ไข
ควรแบ่งพื้นที่ทำการและสร้างระบบกั้นน้ำเค็มระหว่างเกษตรกรนากุ้งและนาข้าวให้แยกจากกัน

ปัญหาดินเค็ม
      ภาคใต้มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน จึงเกิดปัญหาน้ำทะเลท่วมขังเป็นจำนวนมาก
แนวทางแก้ไข
ควรมีระบบการระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังและควรสร้างประตูบังคับน้ำปิดกั้นไม่ให้น้ำทะเล ไหลเข้า

ปัญหาอันตรายจากพายุ
      เนื่องจากภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทะเลจีนใต้และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ทำให้เกิดพายุและดีเปรสชัน ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรแคบ ๆ ยื่นไปในทะเลจึงทำให้เกิดอันตรายจากพายุได้ง่าย
แนวทางแก้ไข
ควรให้ความรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ และไม่ควรตัดไม้ทำลายป่า

ปัญหาการอพยพเข้ามาของแรงงานชาวพม่า

      เนื่องจากภาคใต้มีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า และมีแผนการพัฒนาเมืองตามโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ทำให้ต้องใช้แรงงานในการก่อสร้างเพิ่มจำนวนมากขึ้น
แนวทางแก้ไข
ทุกองค์กรควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมให้คนในสังคมร่วมมือกัน

ปัญหาการทำเหมืองแร่

      ภาคใต้จะมีการประกอบอาชีพการทำเหมืองแร่มากที่สุด และเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถหามาทดแทนได้ จึงเกิดปัญหาการแย่งชิงครอบครองแหล่งแร่ การซื้อขายและขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ เนื่องจากมีกฎหมายที่ไม่รัดกุม
แนวทางแก้ไข
1. ควรมีมาตรการและการลงโทษอย่างเคร่งครัดหากไม่
2. ปฏิบัติตามกฎหมายและพระราชบัญญัติแร่
3. ส่งเสริมให้มีการใช้แร่ที่ปริมาณมากแทนแร่ที่มีปริมาณน้อยแทน

ปัญหาชายแดน
      พื้นที่ของภาคใต้มีชายแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย       ปัญหาการลุกล้ำแนวเขตแดนของไทย ปัญหาการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีและอาวุธ ปัญหาผู้ลี้ภัย       ส่วนปัญหาการล่วงเกินน่านน้ำของชาวประมงภาคใต้เป็นกรณีพิพาทที่สามารถเจรจาตกลงกันได้
แนวทางแก้ไข
1. สร้างเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างสองประเทศ
2. ควบคุมและป้องกันการลักลอบขนสินค้าและอาวุธอย่างเคร่งครัด
3. ให้ความรู้และเข้าใจแก่ชาวประมงเกี่ยวกับเขตแดนน่านน้ำของไทยให้ถูกต้อง


ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

ปัญหาความหนาแน่นของประชากร
      เนื่องจากกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นศูนย์กลางของประเทศ และมีความสำคัญในด้านต่าง ๆ
ประชากรจึงอพยพเข้ามาอยู่เพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาความหนาแน่นของประชากร
แนวทางแก้ไข
1. กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ให้ประชากรไม่ต้องอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล
2. หามาตรการจัดวางผังเมืองและจัดระเบียบให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อให้เกิดความเข้าใจและร่วมมือกันปฏิบัติ

ปัญหาการจราจรแออัด
แนวทางแก้ไข
1. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และลงโทษผู้ฝ่าฝืน
2. ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ
3. ขยายและเชื่อมโยงถนนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
4. รณรงค์ให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้บริการของขนส่งมวลชน

ปัญหาพื้นที่ทรุดตัว
       เนื่องจากมีการก่อสร้าง การขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดพื้นดินทรุดตัวต่ำลง
แนวทางแก้ไข
1. ควบคุมการขุดเจาะน้ำบาดาล และการสร้างตึกขนาดใหญ่
2. จัดหาน้ำประปาให้เพียงพอสำหรับการใช้ของประชากร

ปัญหาน้ำท่วมและน้ำทะเลหนุน
       กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จังก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ และปัญหาน้ำทะเลทะลักเข้าพื้นที่ทำเกษตร ซึ่งได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
แนวทางแก้ไข
1. สร้างเขื่อนกั้นคลองที่ต่อเนื่องกับทะเล เพื่อกั้นไม่ให้น้ำทะเลทะลักเข้า
2. สร้างประตูระบายน้ำ และขุดลอกคลองน้ำที่ตื้นเขิน
3. ปฏิบัติตามโครงการพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ

ปัญหาการขยายตัวของเมืองและเขตอุตสาหกรรม

       การขยายตัวของเมืองก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้
             - มลพิษทางอากาศ สาเหตุมีจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
             - มลพิษทางน้ำ สาเหตุจากการระบายของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน
             - มลพิษทางเสียง สาเหตุจากมียานพาหนะทางบกและทางน้ำมีจำนวนมากขึ้น
             - การทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลอง ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียและมีสารพิษเจือปน
แนวทางแก้ไข
1. วางแผนควบคุมการขยายตัวของเมืองและเขตอุตสาหกรรมให้เคร่งครัดและปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2. เผยแพร่ความรู้และให้ความร่วมมือกันระหว่างประชาชน ภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น    โครงการตาวิเศษ เป็นต้น

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการแก้ปัญหาทรัพยากรณ์ธรรมชาติ

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
-ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
-หาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
-ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

 





ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
   1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด

  









2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน








2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
   1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้







   2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
 







  3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
  






4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้   ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
ข. สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย

About Us | Contact Us | © Pathumthepwithayakarn School 2008

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
      ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้ม
ถูกทำลายเพิ่ม มากขึ้น ในขณะเดียวกัน    สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (ที่มนุษย์สร้างขึ้น)
กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก  ในปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่ม
ขึ้นอย่างรวดเร็ว   มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยี  มาใช้อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์
เพิ่มมากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อม  ทางธรรมชาติ  ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์หลาย
ประการ เช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหรอ    ของทรัพยากรธรรม
ชาติภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น   มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมาก
ขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง    ต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ เพื่อ
ป้องกันปัญหาดังกล่าวทุกคนจึงต้อง     ตระหนักถึง ปัญหาร่วมกัน โดยศึกษาถึงลักษณะ
ของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการ ป้องกันเพื่อแก้ปัญหา
ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
    เทคโนโลยี คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยประโยชน์หากนำมาใช้อย่างไม่ระมัด
ระวังก็จะส่งผล กระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระยะที่ผ่าน
มามนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน แต่ในทางตรงกันข้าม ผล
จากการใช้อย่างขาดสติก็ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ดังนี้
1. ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นปัจจัยสำคัญ ในการ ดำรงชีวิตของทั้ง มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ
(1) การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
- การสูญเสียทรัพยากรดิน เกิดปัญหาการพังทลายของดิน ดินเสื่อมคุณภาพ อันเป็นผล
  จากการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร การใช้สารเคมีในการเกษตร
- การสูญเสียทรัพยากรน้ำ เช่น แหล่งต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำ
   เน่าเสีย การทิ้งสิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายได้ยาก และปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ
- การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ใน
  การทำลายป่าอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
- การสูญเสียทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงานจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ทำให้มีการนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะพลังงาน ปีหนึ่ง ๆ ต้อง
   สูญเสีย งบประมาณในการ จัดหาพลังงานมาใช้เป็นจำนวนมหาศาล
(2) สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
     หลังจากที่สิ่งมีชีวิตก่อกำเนิดขึ้นบนโลก จากนั้นได้วิวัฒนาการเพิ่มจำนวนและชนิด
มากขึ้นเป็นลำดับ ต่อจากนั้น  ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม  ตามธรรมชาติ
ทำให้สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มสูญพันธุ์อย่างช้า และมีการคาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิต   จะมีอัตรา
การสูญพันธุ์ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,000 เท่า
(3) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก      กิจกรรมของมนุษย์หลายประการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลต่อ
มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนี้
         
   
การเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)      สาเหตุสืบเนื่องมาจากการสะสมของ ก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์ เช่น ก๊าซคาร์บอน   ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง   ที่เป็นซากสิ่งมีชีวิต
และก๊าซมีเทนซึ่งเกิดจากการเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิตเป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตั้ง
ถิ่นฐานมนุษย์ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ระบบนิเวศจะเปลี่ยนแปลงจากภาวะปัจจุบัน
บรรยากาศโอโซนถูกทำลาย   ในปัจจุบันได้เกิดภาวะที่รุนแรงขึ้นกับโลก และกำลังมี ผล
กระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ   ที่อาศัยอยู่บนโลกทั้งบนบก    และในทะเลคือ    การที่รังสี
ีอัลตราไวโอเลตส่องผ่าน ชั้นบรรยากาศลงสู่พื้นโลกมากเกินไป     เนื่องจากบรรยากาศ
ชั้นโอโซนถูกทำลาย
(4) เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
    หมายถึง ของเสียหรือสิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อน และก่อให้ เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยมลพิษจากแหล่งชุมชน    มลพิษจากแหล่งอุตสาหกรรม และมลพิษ จาก
แหล่งเกษตรกรรม
2. ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม     นอกจากจะส่งผลกระทบต่อ   สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว หากนำมาใช้อย่างไม่
่ระมัดระวังก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ได้ เช่น
(1) ปัญหาการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว      เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ หากไม่มีการป้องกันหรือ
แก้ไข ในอนาคตก็จะเกิดปัญหาวิกฤติประชากรได้
(2) สูญเสียความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น      เกิดจากความเจริญก้าวหน้า ด้านการคมนาคม ขนส่ง การสื่อสาร ทำให้เกิดการแลก
เปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งคนรุ่นหลัง ไม่มีเวลาในการคัดเลือกสิ่งดี ๆ ของ
ภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับใช้
(3) สูญเสียความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม สถาบันต่าง ๆ
      ทางสังคม เช่น ครอบครัว ชุมชนศาสนาการศึกษามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของสมาชิก
ในสังคมน้อยลง สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำให้เกิด ปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม โสเภณี คอร์รัปชัน การว่างงาน

ที่มา: http://www2.se-ed.net/nfed/geography/geo03_4.html

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อ่านแล้วเราควรจะ"กังวล" หรือ "ลุกขึ้นมาทำบางอย่างให้กับโลกที่สวยงาม"

    ไขปริศนา "โลกเอาคืน" ผ่านไทยรัฐ ออนไลน์ว่า หลายคนสงสัยว่า ภัยธรรมชาติมากมายที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2010 นี้ถือได้ว่าเป็นการเอาคืนมนุษย์ผู้ทำลายของธรรมชาติไหม
"พูดได้ครับ เพราะหลายอย่างเกี่ยวข้องกันกันอย่างมาก เช่น การเกิดพายุมีคนโยงว่ามันเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนที่มันทำให้สภาพโดยร่วม มันเปลี่ยนแปลงไปบ้างเลยทำให้พายุที่เกิดขึ้นมากมายในวงรอบที่มันเปลี่ยนไป หรือว่ามาเกิดในที่ ที่ไม่เคยเกิดและเพิ่มดีกรีความรุนแรงอีกต่างหาก ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าทั่วโลกกำลังพยายาม รณรงค์หรือแม้กระทั่งมีข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาโลกใกล้แตกเหล่านี้ เนื่องจากไม่อยากไปให้ถึงจุดที่จะเกิดนั้นจริงๆ"

ถามว่าหากโลกใบนี้ แตก "มนุษย์จะสูญพันธุ์" ไหม ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บอกว่า

"ถ้าวันนี้เราไม่สู้หรือไม่ทำ อะไรเลย
จินตนาการที่ว่าโลกแตกมนุษย์สูญพันธุ์นั้น
"มันก็เป็นไปได้..."
    แต่ก่อนหน้านั้นมันคงจะถึงจุดที่เราเริ่มตระหนักถึงความอันตราย และเราคงไม่งอมือ งอเท้ากันขนาดนั้นซึ่งตอนนี้ทั่วโลกก็พยายามทำกันอยู่ แต่ถ้าเราพูดในสมมติฐานว่าเรา

"ถ้าไม่ทำอะไรเลย..." ยังทำร้ายโลกกันแบบนี้ผมเชื่อว่าอีกสัก 50-60 ปี อาจจะต้องมีคนที่ต้องเสียสละ แน่นอนว่าเราอาจจะพาคนทั้ง7ล้านคนทั่วโลกไปด้วยไม่ได้ทั้งหมดมันอาจจะมีบาง คนเท่านั้นที่ไปรอดจากภัยธรรมชาติที่จะทำให้มนุษย์นั้นสูญพันธุ์ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกที่มนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ต้องรับมือในตอนนี้ก็คือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และอากาศในระดับที่มันรุนแรงมากขึ้น เพราะวันนั้นเราสามารถได้เห็นประเทศอย่าง "บังกลาเทศ" หรือประเทศหมู่เกาะที่มันจมหายไปแล้ว หลายทวีปก็ส่อแววแบบนั้นเหมือนกัน"

เจ้าของฉายา ด็อกเตอร์ โลกร้อนย้ำว่า อีก 50 ปี จากนี้เรามีสิทธิ์เห็นสภาพบังกลาเทศ หรือประเทศจมน้ำไปแน่นอน

"ถามว่าแล้วประเทศไทยจะเป็นอย่างไรนับจากนี้ จริง ๆ ประเทศไทยถือว่าอยู่ในกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างน้อย เราอาจจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่เราอาจจะเห็นคนอย่างบังกลาเทศมาอยู่เมืองไทยมากขึ้น ซึ่งผลกระทบหนัก ๆ ไม่จำเป็นจะต้องเกิดโดยตรง ๆ เช่น ถ้าวันหนึ่งประเทศไทยอาจจะผลิตข้าวให้กับโลกเท่านั้นเท่านี้ โดยอาจจะมีองค์การอาหารโลกมากำหนดไม่ใช่ผลิตไป เรื่อย ๆ ตามใจประเทศเราประเทศเดียว เป็นผลกระทบทางอ้อมทางเศรษฐกิจการเมือง สังคม จะมารูปแบบนี้มากขึ้นในอนาคตอันใกล้"

นอกจากนี้ผลกระทบภายในที่เราต้องเผชิญก็คือถึงวันหนึ่งประชากรเราก็จะหนาแน่นมากขึ้นทว่าทรัพยากรที่เคยมีให้ใช้กันอย่างสุขสบายในประเทศไทยก็จะมีน้อยลงทุกทีพูดง่ายๆ คือเราจะมีทางเลือกที่น้อยลงซึ่งตอนนี้เราจะต้องมาร่วมกันเพื่อหาวิธีการที่ จะทำให้คนของเราไม่เพียงอยู่ที่ไม่เพียงแค่อยู่รอดได้ต้องอยู่รอดได้อย่างดี จากสภาวะโลกเช่นนี้
เมื่อมองว่าโลกจะต้องถึง กาลอวสานจริงๆ คำถามก็คือวันนี้ "นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก" มีการมองว่าจะทิ้งโลกที่อนาคตกำลังจะแตกเอาไว้ไหม...? ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกร้อนบอกว่า มี

"เช่นมองว่าวัน หนึ่งมนุษย์โลกอาจจะต้องไปอยู่ในใต้ทะเล ซึ่งในใต้มหาสมุทรเรายังมีพื้นที่ 60-70% ของพื้นที่ผิวโลกที่เรายังใช้ประโยชน์อยู่น้อย กระทั่งมีการพูดถึงว่าการผลิตสิ่งต่างๆ อยู่ในทะเลได้หรือเปล่า แม้แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านก็บอกว่าเรายังมีที่ ที่ไม่คิดว่าจะอยู่ เช่น แอนตาร์กติก ในเขตรัสเซีย ซึ่งตอนนี้เป็นที่ว่างๆ ต่อไปมันอาจจะเปิดกว้าง ต่อไปอาจจะมีเทคโนโลยีที่กระจายคนไปอยู่ตรงนั้นได้ เพราะตอนนี้คน 7 พันล้านคนทั่วโลกมันอยู่กันแบบกระจุกตัวเฉพาะบางแห่ง มันยังมีพื้นที่ที่คนอยู่น้อยเป็นจำนวนมาก แต่ ณ วันนี้ เรายังไม่มีวิธีการที่จะไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างมีความสุข"

สุดท้าย เมื่อถึงวันที่คนส่วนหนึ่งจะต้องเสียสละ ถามว่าแล้วประเทศไทยจะรอดกฎคัดสรรโดยธรรมชาติไหม

"มองได้หลายแนวทาง ถ้าระบบประเทศยังมีอยู่เรายังสามารถควบคุมพื้นที่ประเทศได้ เราก็จะเป็นประเทศ ที่ไม่โดนคัดออกผมเชื่อแบบนั้นเพราะประเทศไทยมีสิ่งที่อุดมสมบูรณ์มากมายแต่ถ้า มองต่อไปว่าวันหนึ่งเราอาจจะต้องพบกับระบบของคำว่า "ขอบเขตประเทศไม่มี" คือโลกเราเป็นเนื้อเดียวกัน หมายถึงมันมี "รัฐบาลโลก" ทุกคนเป็นประชาชนของโลกไม่มีคำว่า "ประเทศอีกต่อไป"

ประเทศไทยจะลำบาก เพราะว่าที่เราอยู่ได้เพราะประเทศไทยเป็นของเรา ถ้าเผื่อใครมาอยู่ก็ได้มาบริหารประเทศไทยได้ประเทศไทยจะสูญพันธุ์ วันนี้ประเทศที่อุดมสมบูรณ์จึงกลายเป็นที่ที่หลายประเทศหมายปองที่จะเข้ามา ดังนั้นเราจะมีใช้แนวความคิดเดิม ๆ แก้ปัญหาโลกไม่ได้

เช่นการ ใช้ถุงโลกร้อน หรือสร้างเขื่อนกั้นน้ำตรงไหนดี เราต้องไปไกลกว่านั้น เราจะเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่น ๆ ที่มันจะมาเป็นลูกพ่วงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกเยอะแยะ

ซึ่งตอนนี้ยังทัน แต่เราต้องเริ่มคิด เรามองให้ไกล ถ้าเรายังมองแบบเดิมๆ เราจะโดนคัดออกแน่นอน" ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกชื่อดังกล่าวสรุป...

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 8 พฤศจิกายน 2553http://www.thairath.co.th/content/life/124923

  เราต้องขอขอบพระคุณท่าน ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ที่ได้ให้ความรู้ที่ดีและข้อแนะนำดีๆในการเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง