วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการแก้ปัญหาทรัพยากรณ์ธรรมชาติ

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
-ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
-หาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
-ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

 





ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
   1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด

  









2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน








2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
   1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้







   2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
 







  3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
  






4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้   ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
ข. สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย

About Us | Contact Us | © Pathumthepwithayakarn School 2008

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
      ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้ม
ถูกทำลายเพิ่ม มากขึ้น ในขณะเดียวกัน    สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (ที่มนุษย์สร้างขึ้น)
กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก  ในปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่ม
ขึ้นอย่างรวดเร็ว   มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยี  มาใช้อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์
เพิ่มมากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อม  ทางธรรมชาติ  ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์หลาย
ประการ เช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหรอ    ของทรัพยากรธรรม
ชาติภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น   มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมาก
ขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง    ต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ เพื่อ
ป้องกันปัญหาดังกล่าวทุกคนจึงต้อง     ตระหนักถึง ปัญหาร่วมกัน โดยศึกษาถึงลักษณะ
ของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการ ป้องกันเพื่อแก้ปัญหา
ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
    เทคโนโลยี คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยประโยชน์หากนำมาใช้อย่างไม่ระมัด
ระวังก็จะส่งผล กระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระยะที่ผ่าน
มามนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน แต่ในทางตรงกันข้าม ผล
จากการใช้อย่างขาดสติก็ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ดังนี้
1. ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นปัจจัยสำคัญ ในการ ดำรงชีวิตของทั้ง มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ
(1) การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
- การสูญเสียทรัพยากรดิน เกิดปัญหาการพังทลายของดิน ดินเสื่อมคุณภาพ อันเป็นผล
  จากการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร การใช้สารเคมีในการเกษตร
- การสูญเสียทรัพยากรน้ำ เช่น แหล่งต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำ
   เน่าเสีย การทิ้งสิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายได้ยาก และปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ
- การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ใน
  การทำลายป่าอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
- การสูญเสียทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงานจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ทำให้มีการนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะพลังงาน ปีหนึ่ง ๆ ต้อง
   สูญเสีย งบประมาณในการ จัดหาพลังงานมาใช้เป็นจำนวนมหาศาล
(2) สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
     หลังจากที่สิ่งมีชีวิตก่อกำเนิดขึ้นบนโลก จากนั้นได้วิวัฒนาการเพิ่มจำนวนและชนิด
มากขึ้นเป็นลำดับ ต่อจากนั้น  ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม  ตามธรรมชาติ
ทำให้สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มสูญพันธุ์อย่างช้า และมีการคาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิต   จะมีอัตรา
การสูญพันธุ์ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,000 เท่า
(3) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก      กิจกรรมของมนุษย์หลายประการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลต่อ
มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนี้
         
   
การเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)      สาเหตุสืบเนื่องมาจากการสะสมของ ก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์ เช่น ก๊าซคาร์บอน   ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง   ที่เป็นซากสิ่งมีชีวิต
และก๊าซมีเทนซึ่งเกิดจากการเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิตเป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตั้ง
ถิ่นฐานมนุษย์ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ระบบนิเวศจะเปลี่ยนแปลงจากภาวะปัจจุบัน
บรรยากาศโอโซนถูกทำลาย   ในปัจจุบันได้เกิดภาวะที่รุนแรงขึ้นกับโลก และกำลังมี ผล
กระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ   ที่อาศัยอยู่บนโลกทั้งบนบก    และในทะเลคือ    การที่รังสี
ีอัลตราไวโอเลตส่องผ่าน ชั้นบรรยากาศลงสู่พื้นโลกมากเกินไป     เนื่องจากบรรยากาศ
ชั้นโอโซนถูกทำลาย
(4) เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
    หมายถึง ของเสียหรือสิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อน และก่อให้ เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยมลพิษจากแหล่งชุมชน    มลพิษจากแหล่งอุตสาหกรรม และมลพิษ จาก
แหล่งเกษตรกรรม
2. ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม     นอกจากจะส่งผลกระทบต่อ   สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว หากนำมาใช้อย่างไม่
่ระมัดระวังก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ได้ เช่น
(1) ปัญหาการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว      เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ หากไม่มีการป้องกันหรือ
แก้ไข ในอนาคตก็จะเกิดปัญหาวิกฤติประชากรได้
(2) สูญเสียความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น      เกิดจากความเจริญก้าวหน้า ด้านการคมนาคม ขนส่ง การสื่อสาร ทำให้เกิดการแลก
เปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งคนรุ่นหลัง ไม่มีเวลาในการคัดเลือกสิ่งดี ๆ ของ
ภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับใช้
(3) สูญเสียความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม สถาบันต่าง ๆ
      ทางสังคม เช่น ครอบครัว ชุมชนศาสนาการศึกษามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของสมาชิก
ในสังคมน้อยลง สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำให้เกิด ปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม โสเภณี คอร์รัปชัน การว่างงาน

ที่มา: http://www2.se-ed.net/nfed/geography/geo03_4.html